CUD Hackathon 2024
SATIT Hackathon
SATIT Hackathon
SDGs 4 : Innovations for Equitable Education
SDGs 4 : Innovations for Equitable Education
นวัตกรรมเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
เข้าร่วมอบรมและแข่งขันในวันที่
13 - 14 JUL 2024
และ
8 - 9 AUG 2024
ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภายใต้งานสาธิตวิชาการ ครั้งที่ 9
จรณทักษะจำเป็นสำหรับอนาคต Essential Soft Skills for the Future
เข้าร่วมอบรมและแข่งขันในวันที่
13 - 14 JUL 2024
และ
8 - 9 AUG 2024
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภายใต้งานสาธิตวิชาการ ครั้งที่ 9
จรณทักษะจำเป็นสำหรับอนาคต Essential Soft Skills for the Future
โรงเรียนสาธิตต่างมีพันธกิจร่วมกันคือการนำความรู้ไปขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและสังคมไทยอย่างยั่งยืน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จึงเล็งเห็นความสำคัญของหลักการ
“ปวงชนเพื่อการศึกษาเพื่อสร้างการศึกษาเพื่อปวงชน (All for Education เพื่อ Education for All)”
โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมมือกันเพื่อช่วยให้ทุกคนได้เข้าถึงการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผ่านการลงมือทำ
และการสร้างความมีส่วนร่วม จึงได้จัดเวทีการประกวดการออกแบบนวัตกรรม CUD Hackathon 2024
ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 2 ในงานสาธิตวิชาการครั้งที่ 9 ภายใต้หัวข้อ
SATIT Hackathon: Innovation for Equitable Education “นวัตกรรมเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา”
เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้มีประสบการณ์การบูรณาการจรณทักษะในการร่วมมือรวมพลังเพื่อออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงในด้านการศึกษาของไทยที่ตอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 4 (SDGs 4)
เมื่อวันหนึ่งที่นักเรียนกลุ่มนี้จบไปเป็นสมาชิกของสังคมจะได้กลับมาในฐานะ
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ที่สร้างสรรค์และพัฒนาการศึกษาของไทยในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
SDGs 4
QUALITY
EDUCATION
เป้าหมายที่่่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาท่ี่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้้ตลอดชีวิต
(Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all)
เป้าหมายย่อย SDGs 4

กำหนดการรับสมัครและการแข่งขัน

ช่วงที่ 1
1 - 31 พฤษภาคม 2567
การรับสมัครรอบคัดเลือกและส่งผลงาน
ช่วงที่ 1
24 มิถุนายน 2567
ประกาศผลรอบคัดเลือก
ช่วงที่ 2
13 - 14 กรกฎาคม 2567
กิจกรรมการอบรม 4 Workshops การบรรยายพิเศษ และทัศนศึกษา
ช่วงที่ 3
8 - 9 สิงหาคม 2567
รอบชิงชนะเลิศการแข่งขัน

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน

เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนสาธิตสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่อยู่ในภาคีเครือข่ายกิจกรรมสาธิตวิชาการ แต่ละโรงเรียนสามารถส่งข้อมูลผู้สมัครได้โรงเรียนละ 10 - 15 คน โดยทางผู้จัดจะคัดเลือกให้เหลือ 5 คน และสำรอง 5 คน และอาจารย์โรงเรียนละ 1 ท่าน
*กรณีมีการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้เข้าแข่งขันไปจากที่ผู้จัดได้ประกาศ ขอให้อาจารย์ผู้ประสานงานติดต่อทางอีเมล เพื่อที่ทางผู้จัดจะได้คัดเลือกนักเรียนจากรายชื่อสำรองตามลำดับ

ขั้นตอนการสมัคร

*ควรส่งใบสมัครภายในกลางเดือน พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ขึ้นกับกำหนดการรับสมัครของโรงเรียนที่นักเรียนสังกัด
1
นักเรียนที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารใบสมัครเข้าแข่งขัน “SATIT Hackathon: Innovation for Equitable Education” (เอกสารภาคผนวก 1)
นักเรียนตรวจสอบการพิมพ์ข้อมูลลงในไฟล์ Word และลงนามการสมัครให้ครบถ้วน จากนั้นบันทึกเป็น ไฟล์ PDF ตั้งชื่อไฟล์เป็น ชื่อ-นามสกุล และโรงเรียน
เด็กดี คิดแก้ไข_โรงเรียนสาธิตสดใส.pdf
2
นักเรียนบันทึกวีดิทัศน์นำเสนอผลงาน แนวทางการแก้ปัญหา ด้านคุณภาพ การศึกษาในจังหวัดของนักเรียนในเวลา 2 นาที และสร้างเป็นลิงก์ YouTube VDO Presentation
3
นักเรียนนำข้อมูลทั้ง 2 ส่วนส่งให้กับ อาจารย์ผู้ประสานงานกิจกรรมการแข่งขัน SATIT Hackathon ของโรงเรียน ตนเองที่สังกัดอยู่ เพื่อให้ทางโรงเรียน เป็นผู้คัดเลือกผู้แทนเข้าแข่งขัน
4
สามารถติดตามประกาศผลรายชื่อ นักเรียนที่ผ่านเข้าร่วมกิจกรรม   ในวันที่ 24 มิ.ย. 2567 ทางเว็บไซต์ https://cudhackathon.com

ขั้นตอนการส่งเอกสาร (สำหรับอาจารย์ผู้ประสานงานกิจกรรม)

*ภายใน 31 พฤษภาคม 2567
1
อาจารย์ผู้ประสานงานกิจกรรมการแข่งขัน SATIT Hackathon กรอกเอกสารภาคผนวก 2 เพื่อเสนอ ให้ผู้อำนวยการโรงเรียน ลงนาม และประทับตรา สถานศึกษา โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่
บันทึกเป็นไฟล์ PDF ตั้งชื่อไฟล์เป็น ภาคพนวก2_ชื่อโรงเรียน
ภาคผนวก2_โรงเรียนสาธิตสดใส.pdf
2
ตั้งชื่อไฟล์เอกสารสมัคร (ภาคผนวก 1) ของนักเรียนเป็น  ลำดับที่ ชื่อ-นามสกุล และโรงเรียน พร้อมลิงก์ YouTube  VDO Presentation ของนักเรียนแต่ละคน ให้สอดคล้องกับ ลำดับที่ของนักเรียนที่แนบส่ง ตามช่องทางการรับสมัคร
1. เด็กดี คิดแก้ไข_โรงเรียนสาธิตสดใส.pdf
2. ตั้งใจ แก้ปัญหา_โรงเรียนสาธิตสดใส.pdf
3
อาจารย์ผู้ประสานงานกิจกรรมลงทะเบียน และนำส่งเอกสาร ของนักเรียนและ อาจารย์ผู้ดูแล นักเรียน ได้ทางช่องทางนี้
3.1 กรอกข้อมูลของนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือก พร้อมแนบไฟล์ ภาคผนวก 1 และลิงก์ YouTube VDO Presentation ของนักเรียน ครั้งละ 1 รายชื่อ ตามลำดับ
3.2 กรอกข้อมูลของอาจารย์ผู้ดูแลนักเรียน พร้อมแนบไฟล์ ภาคผนวก 2

กำหนดการและรายละเอียดการเข้าร่วมการแข่งขัน

กิจกรรม
ช่วงเวลา
รายละเอียด
ช่วงที่ 1: การรับสมัครรอบคัดเลือก
ตามตารางการสมัครช่วงที่ 1 ในหัวข้อที่ 3
ช่วงที่ 1: ประกาศผลรอบคัดเลือก
1. ประกาศผลนักเรียนที่สามารถผ่านเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน โรงเรียนละ 5 คน และสำรอง 5 คน ผ่านช่องทาง https://www.cudhackathon.com
2. ทีมงานจะติดต่อกลับทางอีเมลที่อาจารย์ผู้ประสานงานกิจกรรมการแข่งขัน SATIT Hackathon ให้ไว้
ช่วงที่ 2: รอบกิจกรรมการอบรม 4 Workshops การบรรยายพิเศษ และทัศนศึกษา
วันเสาร์ที่ 13 -   วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2567
1. กิจกรรมสานสัมพันธ์ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. กิจกรรมบรรยายพิเศษและเสวนา ในหัวข้อ
- ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยกับเป้าหมายที่ต้องไปถึง SDGs 4
- ทางออกของความเหลื่อมล้ำการศึกษาไทย
3. กิจกรรม Workshop Upskills ได้แก่
- Workshop 1: การคิดเชิงออกแบบเพื่อสรรค์สร้างนวัตกรรมเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและแนวทางไปสู่สิทธิบัตร
- Workshop  2: Pitching อย่างไรให้ตอบโจทย์
- Workshop 3: ต่อยอดนวัตกรรมด้วยโมเดลธุรกิจ
- Workshop 4: Pitching by meeting with Guru
4. กิจกรรมทัศนศึกษา
5. กิจกรรมออกแบบนวัตกรรมฯ โดยการแบ่งกลุ่มแบบคละโรงเรียน สมาชิกกลุ่มละ 5 คน
    ช่วงที่ 3: รอบชิงชนะเลิศการแข่งขัน SATIT Hackathon  
1. กิจกรรมฟังบรรยายพิเศษมุมมองด้านวัตกรรมเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
2. กิจกรรม Workshop 5: Pitching with Guru
3. การประกาศโจย์รอบชิงชนะเลิศ
4. กิจกรรมการออกแบบนวัตกรรม
5. กิจกรรมการแข่งขัน Final Pitching

เกณฑ์การตัดสินรอบคัดเลือก

ด้านความคิดสร้างสรรค์
25%
ด้านความเป็นไปได้ในการขยายผลเชิงธุรกิจ
20%
ด้านความมีคุณค่าต่อสังคมในวงกว้าง
25%
ด้านวิธีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนและใช้งานได้จริง
30%
สำหรับรอบชิงชนะเลิศ
1. สิ่งที่ต้องเตรียมมาในวันจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

- ให้นำเครื่องคอมพิวเตอร์พกพามาเอง พร้อมปลั๊ก 3 ตา
- ยาประจำตัว อุปกรณ์ของใช้ส่วนตัว ถุงนอน เครื่องนอนประจำตัว รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับทำงานค้างคืน 1 คืน และอยู่อาศัย 2 วัน ในบริเวณงาน
- บัตรประจำตัวประชาชน และบัตรประจำตัวนักเรียนของทุกคน

2. สิ่งที่โครงการจัดเตรียมให้

- เสื้องาน สำหรับนักเรียนและครูที่ปรึกษาสวมใส่ในวัน Pitching คนละ 1 ตัว
- บัตรประจำตัวการแข่งขัน
- อาหาร น้ำดื่ม และของว่างตลอดกิจกรรม
- ประกาศนียบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นรายบุคคล และครูที่ปรึกษา
- สัญญาณ Wifi
- กระดาษฟลิปชาร์ต กระดาษแข็ง ไม้บรรทัด กรรไกร คัตเตอร์ ปากกาสี และเครื่องเขียน
เงื่อนไข กฎกติกาในการแข่งขัน
1. การลงมือออกแบบนวัตกรรมชิ้นงาน ขอสงวนสิทธิ์ให้นักเรียนได้แสดงความสามารถเป็นผู้ลงมือออกแบบผลงานต้นแบบด้วยสมาชิกทั้ง 5 คนเท่านั้น และอาจารย์ประจำกลุ่มที่เป็นที่ปรึกษาสามารถให้คำชี้แนะแก่นักเรียนได้

2. กำหนดระยะเวลาการออกแบบนวัตกรรม และสร้าง PowerPoint พร้อมฝังคลิปและตัวอักษรเพื่อนำเสนอผลงานสำหรับการ Pitching ตั้งแต่เวลา 14.30 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2567 และส่งผลงานต้นแบบ (Prototype) (ถ้ามี) และกำหนดส่ง PowerPoint หรือไฟล์ PDF สำหรับการ Pitching ก่อนเวลา 5.00 น. ของวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567 ตามช่องทางที่การแข่งขันกำหนด

3. งานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่คัดลอกความคิด รูปแบบ ผลงานของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง หากพบว่ามีการคัดลอกงานของบุคคลอื่นมาและได้รับรางวัลจะถือว่าเป็นโมฆะ

4. ในทุกรอบการแข่งขัน คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
CUD Hackathon